วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ( Hong Kong )




เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
中華人民共和國香港特別行政區 (จีน)
 


 ธงชาติฮ่องกง


                
ตราแผ่นดิน



                                       
                

 ที่ตั้งของฮ่องกง อยู่ทางตอนใต้ของจีน 

ภาษาทางการ   ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ
การปกครอง     เขตบริหารพิเศษของจีน
                         ผู้ว่าการ โดนัลด์ จัง
  
สถาปนา          ทำสนธิสัญญานานกิง      ทำเมื่อวันที่   29 สิงหาคม พ.ศ. 2385 
                        ส่งมอบอธิปไตยจากสหราชอาณาจักรไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน 
                        เมื่อวันที่  1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 

พื้นที่               รวม  1,104 ตร.กม. (179) 426 ตร.ไมล์

ประชากร           2553 (ประเมิน)   7,061,200  คน


สกุลเงิน             ดอลลาร์ฮ่องกง (HKD)





ประวัติ
     
       "ฮ่องกง" เป็นภาษากวางตุ้ง ซึ่งมาจากภาษาจีนกลาง ว่า "เซียงกั่ง" ความหมายก็ไม่เหมือนใคร หมายความว่า "ท่าเรือหอม" มีความเป็นมา สืบเนื่องมาแต่ครั้งที่กวางตุ้ง เป็นแหล่งปลูกไม้หอมชนิดหนึ่ง ส่งขายเป็นสินค้าออก โดยที่ต้องมาขนถ่ายสินค้ากัน ที่ท่าเรือน้ำลึกตอนใต้สุดของแผ่นดินจีน
เมื่อราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีเรือของกองทัพสหราชอาณาจักร นำโดยกัปตัน Charles Elliot (ชาร์ลส์ อีเลียต) แล่นผ่านน่านน้ำระหว่าง แหลมเกาลูนและเกาะแห่งหนึ่งที่ร่ำลือกันว่า เป็นที่หลบลมพายุของพวกโจรสลัด กัปตันอีเลียต เกิดได้กลิ่นหอมชนิดหนึ่ง จึงจอดเรือและขึ้นฝั่ง ส่งล่ามลงไปสอบถาม ได้ความว่าเป็นท่าเรือหอม ใช้ขนถ่ายไม้หอม กัปตันรับทราบด้วยความประทับใจ
เมื่อกัปตันอีเลียตเดินทางกลับสู่สหราชอาณาจักรและได้รับการแต่งตั้งให้ ไปประจำการฝ่ายการพาณิชย์ของสหราชอาณาจักรในภาคพื้นเอเซีย ซึ่งขณะนั้นเอง ประเทศสหราชอาณาจักรซึ่งปกครองโดยพระนางวิกตอเรีย กำลังต้องการอาณานิคมในแถบทะเลจีนใต้ เพื่อใช้เป็นที่จัดส่งสินค้า หรือฝิ่นนั่นเอง และประจวบเหมาะพอดีกับที่ฝ่ายสหราชอาณาจักรและจีน กำลังมีปัญหาเรื่องการค้าฝิ่นในแถบกวางตุ้งของจีน จนทำให้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ขึ้น ในปี ค.ศ. 1839 กัปตันอีเลียตจึงตัดสินใจยกพลขึ้นบกที่ท่าเรือกลิ่นหอม และประกาศให้ดินแดนแถบนั้นเป็นของสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1841
ว่ากันว่ามีเหตุการณ์ที่น่าขัน และสร้างความขายหน้าให้กับพระราชินีวิคตอเรียยิ่งนัก ที่กองทหารสหราชอาณาจักรเข้ายึดเกาะที่มีแต่หินโสโครก หาประโยชน์ไม่ได้เลย กัปตันอีเลียตจึงถูกลงโทษด้วยการส่งไปเป็นกงสุลสหราชอาณาจักรประจำรัฐเท็ก ซัสแทน
       ตั้งแต่นั้น จีนและสหราชอาณาจักรกระทบกระทั่งกันเรื่องการค้าฝิ่นเรื่อยมา เกิดสงครามฝิ่นถึงสองครั้ง หลังสงครามฝิ่นครั้งที่สองนี่เอง สหราชอาณาจักรได้บีบบังคับให้จีนทำสัญญา โดยให้สหราชอาณาจักรเช่าฮ่องกงทั้งหมด เป็นเวลา 99 ปี โดยกำหนดวันหมดสัญญาไว้วันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1997 ด้วยภูมิประเทศของฮ่องกงเอง ที่เป็นเมืองท่าน้ำลึก เหมาะแก่การจอดเรือสินค้าขนาดใหญ่ จึงทำให้ฮ่องกงกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก




          ผู้สำเร็จราชการคนแรกที่มาประจำยังเกาะฮ่องกง ท่านลอร์ด Palmerston เคย ขนานนามเกาะแห่งนี้ไว้ว่า "หินไร้ค่า" แต่สหราชอาณาจักรได้ช่วยวางรากฐานการศึกษา การปกครอง และผังเมืองให้ฮ่องกงเป็นอย่างดี เพียง ชั่วพริบตาเดียว ฮ่องกงได้กลับกลายเป็นศูนย์กลางพาณิชย์และยังเป็นประตูเปิดสู่ประเทศจีน ปลายศตวรรษที่ 19 ดินแดนตอนปลายคาบสมุทรเกาลูนก็ตกเป็นอาณานิคม และสหราชอาณาจักรยังได้สิทธิเช่าเขตนิวเทอริทอรี่ส์ เป็นเวลา 99 ปี ซึ่งสหราชอาณาจักรได้ทำพิธีส่งคืนเกาะฮ่องกง ให้แก่จีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1997 ไปเรียบร้อย ทั้งนี้เคยมีการเจรจาระหว่างสหราชอาณาจักรโดย นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กับ นายเติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำฝ่ายจีน เพื่อเจรจาขอเช่าเกาะฮ่องกงต่อ แต่ได้รับการปฏิเสธ และในปีเดียวกันนั้น วันที่ 26 กันยายน ผู้นำทั้งสองจึงเปิดเจรจาอีกครั้งและลงนามในสัญญา โดยมีสาระสำคัญว่า สหราชอาณาจักรจะยอมส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงให้กับจีน และจีนได้ให้สัญญาว่าจะยอมให้ฮ่องกง อยู่ในฐานะ "เขตปกครองตนเอง" ภายใน 50 ปี


        ปัจจุบันจีนได้มอบหมายให้ นายตงจิ้นหวา ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการฮ่องกง และจีนได้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้รัฐบาลปักกิ่งรับผิดชอบด้านกิจการต่างประเทศ การทหาร และความมั่งคงเท่านั้น ส่วนการบริหารยังคงให้อิสระแก่ชาวฮ่องกงเหมือนเดิม

      อย่างไรก็ตามด้วยทำเลอันเหมาะสม เกาะฮ่องกงก็ยังมีบทบาทสำคัญยิ่งในศตวรรษที่ 21 ในฐานะเมืองท่าการค้าระหว่างประเทศ ฐานที่ตั้งสำคัญของผู้ผลิต และศูนย์กลางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

รูปแบบการปกครอง
        ฮ่องกงเป็นเขตบริหารพิเศษที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลจีนได้ใช้นโยบาย หนึ่งประเทศ สองระบบในการปกครองฮ่องกง ตามกฎหมายพื้นฐานที่ใช้ในการปกครองและบริหารฮ่องกง ที่สภาประชาชนจีนได้อนุมัติและประกาศใช้เป็นกฎหมาย เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2533 โดยให้สิทธิฮ่องกงในการปกครองตนเองอย่างอิสระ สามารถดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การพาณิชย์ ฯลฯ ได้ตามระบบเสรี รัฐบาลจีนได้กำหนดให้ฮ่องกงสามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีต่อไปได้อีกเป็น เวลา 50 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลจีนได้รับฮ่องกงกลับคืนจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร

ประวัติของฮ่องกง สมัยล่าอาณานิคม


ธงฮ่องกงสมัยอาณานิคม

        ฮ่องกง เดิมเป็นเพียงหมู่บ้านประมงเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอซินอัน เมืองเซินเจิ้น หลังจากจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น เกาะฮ่องกงและเกาลูนจึงถูกครอบครองโดยสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) และ พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ตามลำดับ ต่อมาภายหลัง ในปี พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) สหราชอาณาจักรได้ทำสัญญา เช่าซื้อพื้นที่ทางตอนใต้ของลำน้ำเซินเจิ้น ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า เขตดินแดนใหม่รวมทั้งเกาะรอบข้าง ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่กว่าเมื่อครั้งสหราชอาณาจักรเข้ายึดครองในสมัย สงครามฝิ่นเกือบสิบเท่า

 
ภูมิประเทศ

        ฮ่องกงมีพื้นที่รวม 1,096.63 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย เกาะฮ่องกง (80.30 ตร.กม.) เกาลูน (46.71 ตร.กม.) เขตดินแดนใหม่ (New Territories) และเกาะอื่น ๆ (969.62 ตร.กม.) หรือขนาดประมาณ 1 ใน 6 ของพื้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้

       ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเกาะฮ่องกง เกาลูนและเขตดินแดนใหม่ จะเป็นแนวเขาทอดตัวยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือลงสู่ทิศใต้ เป็นแนวเขาที่ต่อเนื่องมาจากมณฑลฝูเจี้ยนและกว่างตงที่อยู่ทางตอนใต้ของจีน แต่เนื่องจากเขตเทือกเขาแต่ครั้งโบราณนั้น ปัจจุบันจมอยู่ใต้น้ำ จึงเกิดเป็นทัศนียภาพเกาะแก่งเล็ก ๆ ที่มีลักษณะลาดชันผุดโพล่ขึ้นมากมาย

 
ภูมิอากาศ

      ฤดูร้อนอากาศร้อนชื้น มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 26-30 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวอากาศเย็นสบายและแห้ง น้อยครั้งที่จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนฝนตกชุกและมีลมแรง ฤดูร้อนมักเกิดลมมรสุม ควรติดต่อสอบถามสภาพอากาศก่อนการเดินทาง

ประชากร

       ฮ่องกงมีจำนวนประชากรกว่า 6.99 ล้านคน ในปี 2549 ความหนาแน่นของประชากร 6,300 คนต่อตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนมากป็นชาวฮ่องกง มีร้อยละ 3 เป็นชาวต่างชาติ อาทิ สหราชอาณาจักร ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อเมริกัน ฯลฯ ภาษากวางตุ้งซึ่ง เป็นภาษาถิ่นที่มีการพูดตั้งแต่มณฑลกวางตุ้งของจีนเรื่อยมาจนถึงฮ่องกงได้ กลายมาเป็นภาษาทางการของฮ่องกง ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นของภาษาของเจ้าอาณานิคมก็ยังคงเป็นภาษาทางการร่วมซึ่งถูก ใช้พูดมากกว่า 38 เปอร์เซ็นของประชากร ก็เป็นภาษาที่ใช้แพร่หลาย ส่วนภาษาจีนท้องถิ่นอื่นเช่นแต้จิ๋ว หรือจีนแคะฯลฯ ก็มีไม่น้อยเช่นกัน และตั้งแต่ฮ่องกงกลับสู่ใต้การปกครองของจีนแผ่นดินใหญ่ การใช้ภาษาจีนกลางใน การติดต่อก็เริ่มเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการเข้ามาของชาวจีนแผ่นดินใหญ่และการติดต่อค้าขายระหว่างกัน ถึงแม้ว่าการใช้อักษรจีนนั้นยังนิยมใช้อักษรจีนตัวเต็มอยู่ก็ตาม นอกจากนั้นทางรัฐบาลฮ่องกงได้มีโครงการ "สองแบบอักษร สามภาษา" เพื่อสนับสนุนให้ชาวฮ่องกงใช้ภาษาทั้ง 3 ภาษาร่วมกัน คือภาษากวางตุ้ง จีนกลาง และอังกฤษ

ด้านศาสนา

นับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน 74% ศาสนาคริสต์ 10%




เศรษฐกิจ

สำรวจเมื่อ พ.ศ. 2544 
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 199,000
  • รายได้ต่อหัวของประชากร (ดอลลาร์สหรัฐ/ปี) 27,200
  • อัตราการว่างงาน (ร้อยละ) 5.1
  • การค้าต่างประเทศ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 391,000
    • การส่งออก 189,900
    • การนำเข้า 201,100
    • ดุลการค้า -11,200
  • การค้าบริการ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 66,000
    • การส่งออก 43,000
    • การนำเข้า 22,900
    • ดุลการค้าบริการ 20,100                                                                                             นโยบายการค้า                            
        ฮ่องกงดำเนินนโยบายการค้าเสรีและ เป็นเมืองท่าเสรี การดำเนินการค้าแบบเสรีมาตั้งแต่เดิมจนถึงปัจจุบันติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ทำให้ฮ่องกงมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศมากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์และการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ ฮ่องกงยังเป็นส่วนหนึ่งของขุมพลังทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนในเขตเศรษฐกิจ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำซูเจียง หรือแม่น้ำเพิร์ล อันเปรียบเสมือนประตูการค้าเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน

      ในปัจจุบันฮ่องกงเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก โดยใช้ชื่อในฐานะสมาชิกขององค์การการค้าโลกว่า "Hong Kong, China" ซึ่งเป็นสมาชิกแยกต่างหากจากจีน นอกจากนั้น ฮ่องกงยังเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ด้วย คือ APEC, PECC, ADB, WCO, ESCAP รวมทั้งเป็นผู้สังเกตการณ์ใน OECD ด้วย

      จากการดำเนินนโยบายการค้าแบบเสรีและเป็นเมืองท่าเสรี ฮ่องกงจึงไม่มีการจัดเก็บภาษีศุลกากรในการนำเข้าและส่งออก แต่มีการเก็บภาษีสรรพสามิต (Excise Duty) สินค้า 3 หมวด คือ สินค้าเครื่องดึ่มผสมแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ ใบยาสูบ และหมวดผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง



ประเทศคู่ค้าสำคัญของฮ่องกง

       ประเทศคู่ค้าสำคัญ 15 อันดับแรกของฮ่องกง (ในปี พ.ศ. 2544) เรียงตามลำดับมูลค่าการค้าสองฝ่าย (Two-way trade volume) ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เยอรมนี สหราชอาณาจักร มาเลเซีย ฝรั่งเศส ไทย อิตาลี เนเธอร์แลนด์ แคนาดา และ ฟิลิปปินส์


คู่ค้าสำคัญของฮ่องกงในกลุ่มประเทศอาเซียน

       ด้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (เฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนที่ติดอันดับกลุ่มประเทศคู่ค้าสำคัญ 30 อันดับแรกของฮ่องกง)

       ปัจจุบัน ฮ่องกงเป็นหน่วยงานการค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่เป็นที่ 10 ของโลก เป็นตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราใหญ่อันดับ 7 ศูนย์กลางการเงินการการธนาคาร อันดับที่ 12 และเป็นตลาดค้าทองคำขนาดใหญ่หนึ่งในสี่ของโลก

     นอกจากนี้ ฮ่องกงยังเป็นเขตการส่งออกสินค้าจากทั่วโลก อาทิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป นาฬิกา ของเล่น เกมคอมพิวเตอร์ เครื่องไฟฟ้า และสินค้าอุตสาหกรรมขนาดเบาอีกหลายชนิด

การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

     การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในฮ่องกงสามารถทำได้โดยเสรี เงินดอลลาร์ฮ่องกง (Hong Kong Dollar) เป็นสกุลเงินที่สามารถแลกเปลี่ยนกับเงินตราต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันทางการฮ่องกงได้กำหนดให้เงินดอลลาร์ฮ่องกงมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Rate) กับเงินดอลลาร์สหรัฐ (แต่เพิ่มสูง/ต่ำกว่าอัตราที่กำหนดได้เล็กน้อย) อัตราแลกเปลี่ยนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 คือ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 7.76 ดอลลาร์ฮ่องกง (อัตราซื้อขายโดยเฉลี่ย) ธนบัตรของฮ่องกง พิมพ์โดย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ และ ธนาคารเอชเอสบีซี

ระเบียบการเข้าเมือง

     หนังสือเดินทางมีอายุใช้งานอย่างน้อย 1 เดือน นักท่องเที่ยวหลายสัญชาติจากหลายประเทศไม่ต้องขอวีซ่าตั้งแต่ 7 วัน ถึง 180 วัน ขึ้นอยู่กับสัญชาติ (สำหรับคนไทยอยู่ในฮ่องกงได้โดยไม่ต้องขอวีซ่านาน 1 เดือน)

การคมนาคมขนส่ง
    ฮ่องกงเป็นเมืองที่มีการพัฒนาด้านเครือข่ายการคมนาคมขนส่งสูงทั้งของรัฐ และ เอกชน การเดินทางในแต่ละวันของชาวฮ่องกง 90% เป็นการใช้ขนส่งสาธารณะ และทำให้ฮ่องกงเป็นเมืองหนึ่งที่มีขนส่งสาธารณะครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ เมืองหนึ่งของโลก เพื่อความสะดวกสบายจึงมี บัตรเงินสดอ็อคโทปัส เป็นบัตรที่ไว้ใช้จ่ายค่าโดยสารรถไฟ, รถราง, รสบัส, เรือข้ามฟาก และยังสามารถใช้ได้ที่ร้านสะดวกซื้อกับร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเช่นกัน

การท่องเที่ยว

       ฮ่องกงเป็นเมื่องที่มีความหลากหลายทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งตึกสูงระฟ้า อาคารทันสมัย ตลาดขายของพื้นเมือง ตลาดขายของเก่า วัดวาอาราม หรือแม้แต่แปลงปลูกผัก จากความหลากหลายเหล่านี้ จึงทำให้ฮ่องกงมีมนต์เสน่ห์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างมากมาย นักท่องเที่ยวสามารถพบกับสิ่งที่น่าสนใจและหลากหลาย โดยเราสามารถแบ่งเขตท่องเที่ยวสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลักๆ ออกเป็น 3 เขต คือ เกาะฮ่องกง ฝั่งเกาลูน เขตนิวเทอร์ริทอรี่ส์ และหมู่เกาะต่างๆ






        ฮ่องกงมีชื่อเสียงในด้านการเป็นแหล่งชอปปิ้ง โดยย่านที่มีชื่อเสียง เช่น ถนนนาธาน (จิมซาจุ่ย) ย่านเซ็นทรัล เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น สวนสนุก ฮ่องกง ดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท สวนสนุกโอเชียนปาร์ค วิคตอเรียพีค พระใหญ่วัดโปลิน(พระไวโรจนพุทธะ) วัดหวังต้าเซียน อ่าวน้ำตื้น Repulse Bay นอกจากนั้นยังมีการแสดง Symphony of lights ซึ่งเป็นมัลติมีเดียโชว์ที่ติดตั้งถาวรใหญ่ที่สุดในโลก


ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/เขตบริหารพิเศษฮ่องกง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น